หลังจากที่รัฐบาลได้จัดทำการจัดตั้ง “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” เพื่อดำเนินกิจการพลังงานปิโตรเลียม และเพื่อต่อรองกับบริษัทน้ำมันต่างชาติ
ต่อมาในปี 2522 ได้เกิดวิกฤติน้ำมันโลกครั้งที่ 2 ขึ้นอีกครั้ง จากการปฏิวัติการปกครองในประเทศอิหร่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มโอเปค (OPEC)
.
ผลที่ตามมาทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวขึ้นสูงเป็นอย่างมาก โดยในปี 2522 เพียงปีเดียว ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวจาก 15.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ไปเป็น 28.9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
.
ในช่วงเวลานั้น ปตท.ก็ได้ดำเนินการเจรจากับบริษัทน้ำมันต่างชาติ ตลอดจนการขอความร่วมมือในการจัดหาน้ำมันจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการขาดแคลนพลังงานขึ้นในประเทศ
นอกจากนั้น ในปี 2528 ปตท.ก็ได้ดำเนินการจัดตั้ง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ.) เพื่อทำหน้าที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อมิให้การใช้พลังงานของประเทศไทยต้องพึ่งพาบริษัทต่างชาติทั้งหมด
.
ในปี 2533 สงครามอ่าวเปอร์เซียในตะวันออกกลางได้ระเบิดขึ้น เมื่อประเทศอิรักที่นำโดย นายซัดดัม ฮุสเซน ได้ดำเนินการทางทหารเพื่อบุกยึดคูเวต และประกาศให้คูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งของอิรัก ซึ่งได้สร้างความหวั่นวิตกแก่ประเทศต่างๆ เป็นอย่างมาก จึงทำให้เกิดการกักตุนสำรองน้ำมันไว้
.
ราคาน้ำมันจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 16.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเดือนกรกฎาคม มาเป็น 24.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเดือนสิงหาคม แล้วเพิ่มเป็น 32.9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
.
จากความผันผวนทางด้านราคาน้ำมันดิบ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์น้ำมัน หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียนั้น ได้เป็นปัจจัยเร่งให้รัฐบาลเริ่มหันมาดำเนินนโยบายเสถียรภาพด้านพลังงานอย่างเร่งด่วน ประกอบกับในปี 2534 รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านกิจการปิโตรเลียมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ณ ขณะนั้น
โดยมีสาระสำคัญคือ ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการน้ำมันโดยใช้ ปตท.ถ่วงดุลมิให้ผู้ค้าน้ำมันเอกชนรวมตัวกันกำหนดราคาได้
.
จากนโยบายนี้ ภาคเอกชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมากขึ้น จึงทำให้ ปตท.ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติ มีความจำเป็นต้องปรับบทบาทและโครงสร้างของตนจากเดิม
ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 17กันยายน 2534 ให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและบทบาทของ ปตท.ให้เหมาะสมกับสถานการณ์กิจการปิโตรเลียมของไทย ที่เปลี่ยนแปลงไปในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
.
ในปี 2540 เกิดต้มยำกุ้ง Crisis รัฐบาลจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลต้องเร่งให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ขึ้น เพื่อจัดทำแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยต่อมารัฐบาลก็มีมติเห็นชอบให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน 3 สาขา ได้แก่ สาขาไฟฟ้า สาขาน้ำมัน และ สาขาก๊าซธรรมชาติ ให้ไปสู่โครงสร้างแข่งขันเสรีได้ในอนาคต
.
วันที่ 1 ตุลาคม 2544 จึงได้มีการแปลงสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท.ไปเป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยยังคงสถานะรัฐวิสาหกิจไว้เช่นเดิม
และต่อมาในวันที่ 9 มกราคม 2545 รัฐบาลจึงได้ทำการจัดตั้ง “กระทรวงพลังงาน”โดยรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านพลังงาน ซึ่งกระจัดกระจายเข้าด้วยกันทั้งหมด เพื่อสร้างเอกภาพในการบริหารจัดการกิจการด้านพลังงานของประเทศต่อไป
.
จากกงล้อประวัติศาสตร์ทางพลังงานของประเทศไทยที่ผ่านมา ผมจะขอสรุปสั้นๆ ดังนี้ครับ
.
ประการแรก การจัดการน้ำมันของประเทศไทย มีแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมของโลก และการเมืองระหว่างประเทศเป็นสำคัญ
แต่อย่างหนึ่งที่เราต้องยอมรับ คือ เราอยู่ในโลกที่การค้าเสรีเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก การจะให้ ปตท. มาควบคุมราคา หรือ อุดหนุนราคาเพื่อให้น้ำมันถูก เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในโลกปัจจุบัน
.
ประการที่สอง สังคมควรจะร่วมกันหาคำตอบว่า ตกลงแล้ว ปตท.ควรจะเป็นองค์กรที่สร้าง ‘ความมั่นคงทางพลังงาน’ หรือ ‘ควบคุมราคาพลังงาน’ มากกว่ากันแน่
.
.
จบแล้วครับ สำหรับประวัติศาสตร์ย่อทางพลังงานของประเทศไทย จริงๆ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจและรายละเอียดอยู่อีกมาก เช่น
- ปตท. ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
- ทำไม ปตท. กำไรแสนล้าน
- จะเข้าทำงานที่ ปตท. ทำอย่างไร ฯลฯ
แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/chakartnit/posts/10156075451616001
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น