ทราบหรือไม่คับว่าการผลิตไฟฟ้าในประเทศกว่า 60% เราพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย??
แล้วทราบไหมคับว่าแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวได้มีขุดปิโตรเลียมมา สามสิบกว่าปีแล้ว และสัมปทานการขุดเจาะกำลังสิ้นสุดลงในปี 2565 และความแน่ชัดในการจัดการแหล่งทั้งสองดังกล่าว มีการเลื่อนมาแล้วหลายครั้ง โดยเกิดจากการถูกคัดค้านจากคนกลุ่มเดิมๆ มาโดยตลอด
แล้วทราบมั๊ยคับว่าเรื่องที่ฟังดูแล้วไกลตัวอย่างเรื่องการประมูลปิโตรเลียมแต่ที่จริงแล้วมันใกล้ตัวเรามาก ถ้าผมจะบอกว่ามันทำให้เงินในกระเป๋าของเราเหลือน้อยลงจากที่มันน้อยอยู่แล้ว เพื่อนๆจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวอีกไหมคับ??
เกริ่นมาซะยืดยาวมาดูกันเลยดีกว่าว่าจะเกิดความเสียหายอะไรบ้างหากมีการเลื่อนการประมูลปิโตรเลียมออกไป
อย่างแรกเลยค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นแน่นอน เพราะมีก๊าซหายไปจากระบบ 2,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (เทียบเท่าโรงไฟฟ้าขนาด 1,200 MW หรือ50% ของโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซทั้งหมด) ส่งผลให้ต้องมีการนำเข้า LNG มาทดแทนซึ่งราคาจะผันผวนตามตลาด + กับค่าขนส่งทำให้มีต้นทุนที่แพงกว่าก๊าซจากในอ่าวไทย และส่งผลให้ค่าไฟฟ้า(Ft) เพิ่มขึ้น 18สต.ต่อหน่วย (สมมติฐานจากราคา LNG ที่ 10ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู) ตีเป็นเงินก็ประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี
ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆราคาแพงขึ้น ?? อ่านไม่ผิดหรอกคับมันแพงขึ้นจริงๆ เพราะวัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พลาสติก ,เส้นใย ,ยาง ,สี ,สารซักฟอกและสารเคลือบผิว ล้วนมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีซึ่งเกี่ยวข้องกับก๊าซในอ่าวไทยโดยตรง ถ้าก๊าซตรงนี้หายไปจากระบบ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็ต้องนำเข้าสารตั้งต้นส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น สุดท้ายพวกสินค้าต่างๆตามท้องตลาดหลายชนิดก็จะมีราคาสูงขึ้น ไม่เชื่อลองหันไปมองรอบตัวสิคับมีของอะไรที่ทำมาจากพลาสติดบ้าง?
เงินลงทุนในประเทศจากบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทาน รวมทั้ง บ.ไทยอื่นๆ ที่รับจ้างบริการต่างๆ เช่นก่อสร้าง เดินเรือ ซ่อมบำรุง ฯลฯ และแน่นอนว่าแรงงานต่างๆ ที่เป็นคนในประเทศเองหรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้าน ก็ต้องมีคนต้องตกงานจากการที่บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วย
และสุดท้ายรายได้ของรัฐพวก ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และรายด้านอื่นๆ ที่จะหายไปประมาณ 60,000 หมื่นล้านบาทต่อปี
ทั้งหมดนี่คือข้อเสียที่จะเกิดขึ้นหากไม่สามารถผลิตก๊าซต่อในแหล่งสัมปทานเดิมที่จะหมดอายุลงได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลได้มีความพยามในการที่จะเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมมาหลายครั้งในหลายรัฐบาลแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากมีการคัดค้านมาโดยตลอด และหากการประมูลยิ่งล่าช้าออกไปประเทศก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในปัจจุบันไทยถือเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านพลังงานมากที่สุดในอาเซียนแล้ว ไม่แน่ในอนาคตเราอาจเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงาน 100% เลยก็ได้
ที่มา : https://pantip.com/topic/37573877
26/4/61
25/4/61
เผยโลโก้ใหม่ PTTOR
เผยโลโก้ใหม่ PTTOR โดยซีอีโอปตท.คาดว่าจะโอนกิจการแล้วเสร็จภายในไตรมาส3นี้
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปตท.เมื่อวันที่ 12เม.ย.2561 รับทราบการปรับโครงสร้างและแผนขายหุ้นสามัญของบริษัท น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด หรือ PTTOR ซึ่ง ซีอีโอปตท. คาดว่าจะสามารถโอนกิจการได้เสร็จภายในไตรมาส3 ปี 2561นี้ และเตรียมเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก(IPO)ต่อไป ระบุสัดส่วนรัฐถือหุ้นไม่เกิน 50% และปตท.ถือไม่เกิน 45% พร้อมปรับโลโก้ปั๊ม ปตท.ใหม่แต่ยังคงสัญลักษณ์เปลวเพลิงคล้ายเดิม นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้ ปตท. แตกพาร์ มูลค่าหุ้นจาก 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อหุ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยถือหุ้นได้มากขึ้น
ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน(Energy News Center –ENC) รายงานว่า เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2561 บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2561 โดยมีวาระที่สำคัญได้แก่ การรายงานความคืบหน้าการปรับโครงสร้าง ปตท. รวมถึงแผนการเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(PTTOR)ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก( IPO) รวมทั้งการแตกพาร์ มูลค่าหุ้นจาก 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อหุ้น
โดย นาย เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี2561 รับทราบถึงมติของที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ปตท.เมื่อวันที่ 19ม.ค.2561 ซึ่งอนุมัติให้ดำเนินการปรับโครงสร้าง ปตท. โดยให้ ปตท.สร้างเครื่องหมายการค้าใหม่แบบผสมโดยมีรูปเปลวเพลิงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบ เพื่อโอนขายให้เป็นกรรมสิทธิ์ของPTTOR ที่จะทำให้สามารถวางแผนการตลาด การใช้แบรนด์ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ต่อลูกค้าในธุรกิจการตลาดน้ำมันและค้าปลีกได้ชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้ ปตท.คาดว่าการโอนกิจการจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส3 ของปี 2561 และ PTTOR จะเตรียมเสนอขายหุ้น IPO และเข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ต่อปี โดยขั้นตอนหลังจากนี้ ปตท.จะรับฟังความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์( ก.ล.ต.) และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.และ ตลท.ก่อนดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม PTTOR ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา
ด้าน นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า แผนเสนอขายหุ้น PTTOR นั้น มีเกณฑ์กำหนดให้รัฐถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 50% และปตท.ถือหุ้นไม่เกิน 45% เพื่อให้ ปตท.ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ต่อไป นอกจากนี้จะจำกัดสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวไม่เกิน 25% ทั้งนี้ต้องขึ้นกับนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตามจะให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นรายเดิมไม่เกิน 5% ของ IPO ด้วย และจะกระจายหุ้น IPOไปสู่ประชาชนให้ได้มากที่สุด
นอกจากนี้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นฯ 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มาประชุมหรือมีสิทธิ์ออกเสียง ยังเห็นชอบอนุมัติเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้(พาร์)ของ ปตท.เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่หุ้นของ ปตท. โดยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากเดิมมูลค่าหุ้นละ 10 บาทต่อหุ้น เป็นมูลค่า 1 บาทต่อหุ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นดังกล่าวจะไม่ทำให้ทุนจดทะเบียนบริษัทเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด แต่จะทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 2,856,299,625 หุ้น เป็น 28,562,996,250 หุ้น
นายเทวินทร์ กล่าวถึงประเด็น การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้น ของปตท.ว่า เนื่องจากปัจจุบันหุ้น ปตท.ปรับขึ้นสูงกว่า 500 บาทต่อหุ้น และกฎเกณฑ์ของตลท.กำหนดให้ซื้ออย่างต่ำ100 หุ้นขึ้นไป เท่ากับต้องใช้เงินซื้อถึง 50,000 บาท ส่งผลให้นักลงทุนรายย่อยลดลงจาก 6-7% เหลือ4% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้ามาถือหุ้นได้ง่ายและสะดวกขึ้นจึงต้องดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้คาดว่ากระบวนการแตกพาร์ดังกล่าวจะเสร็จประมาณต้นเดือนพ.ค.2561 นี้
ที่มา : energynewscenter.com
ที่มา : energynewscenter.com
PTT ประเดิมเทรด "พาร์" ใหม่ 1 บาทจากเดิม 10 บาท
ดีเดย์ PTT ประเดิมเทรด "พาร์" ใหม่ 1 บาทจากเดิม 10 บาทวันนี้ (24 เม.ย.)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (24 เม.ย.) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT จะเริ่มเทรดพาร์ใหม่ที่ 1 บาท จากเดิม 10 บาท ตามที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 12 เม.ย.61 ของ PTT ได้มีมติเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT เปิดเผยว่า การแตกพาร์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องจากที่นักลงทุนสามารถเข้าถึงหุ้นบริษัทได้มากขึ้นจากราคาหุ้นต่อหน่วยที่ลดลง ซึ่งคาดว่าการซื้อขายพาร์ใหม่จะเริ่มได้ในต้นเดือน พ.ค. ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพาร์ดังกล่าวจะไม่ทำให้ทุนจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีผลกระทบต่อมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น PTT และไม่ส่งผลกระทบในทางลบ ( Dilution Effect) ต่อผู้ถือหุ้น
โดยภายหลังการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จำนวน 28,562,996,250 บาท โดยมีทุนที่ออกและชำระแล้ว จำนวน 28,562,996,250 บาท ตามมูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท จะส่งผลให้มีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 28,562,996,250 หุ้น
ด้าน บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า PTT ราคาเตรียมไหลลง โดยหลังประกาศแตกพาร์เมื่อ 20 ก.พ. 61 (จะมีกำหนดวันแตกพาร์คือ 24 เม.ย. นี้) พบว่าราคาหุ้น PTT ปรับขึ้นกว่า 22.5% แต่เป็นที่สังเกตว่า ราคาหุ้น PTT ให้ผลตอบแทนสูงเกินกว่า ค่าเฉลี่ยของหุ้นขนาดใหญ่ที่ประกาศแตกพาร์ในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือให้ผลตอบแทนเพียง 14.09% เท่านั้น อาทิ CPN (แตกพาร์ พ.ค.56), BDMS(แตกพาร์ เม.ย.57) และ AOT(แตกพาร์ ก.พ.60) เพิ่มขึ้น 17%, 11% และ 3% ตามลำดับ อีกทั้งสถิติในอดีตยังชี้ให้เห็นว่า ราคาหุ้นหลังแตกพาร์มักปรับตัวลดลงในช่วงสัปดาห์แรกหลังมีผลบังคับเฉลี่ยราว 1%
ที่มา : www.kaohoon.com
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (24 เม.ย.) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT จะเริ่มเทรดพาร์ใหม่ที่ 1 บาท จากเดิม 10 บาท ตามที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 12 เม.ย.61 ของ PTT ได้มีมติเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT เปิดเผยว่า การแตกพาร์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องจากที่นักลงทุนสามารถเข้าถึงหุ้นบริษัทได้มากขึ้นจากราคาหุ้นต่อหน่วยที่ลดลง ซึ่งคาดว่าการซื้อขายพาร์ใหม่จะเริ่มได้ในต้นเดือน พ.ค. ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพาร์ดังกล่าวจะไม่ทำให้ทุนจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีผลกระทบต่อมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น PTT และไม่ส่งผลกระทบในทางลบ ( Dilution Effect) ต่อผู้ถือหุ้น
โดยภายหลังการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จำนวน 28,562,996,250 บาท โดยมีทุนที่ออกและชำระแล้ว จำนวน 28,562,996,250 บาท ตามมูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท จะส่งผลให้มีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 28,562,996,250 หุ้น
ด้าน บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า PTT ราคาเตรียมไหลลง โดยหลังประกาศแตกพาร์เมื่อ 20 ก.พ. 61 (จะมีกำหนดวันแตกพาร์คือ 24 เม.ย. นี้) พบว่าราคาหุ้น PTT ปรับขึ้นกว่า 22.5% แต่เป็นที่สังเกตว่า ราคาหุ้น PTT ให้ผลตอบแทนสูงเกินกว่า ค่าเฉลี่ยของหุ้นขนาดใหญ่ที่ประกาศแตกพาร์ในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือให้ผลตอบแทนเพียง 14.09% เท่านั้น อาทิ CPN (แตกพาร์ พ.ค.56), BDMS(แตกพาร์ เม.ย.57) และ AOT(แตกพาร์ ก.พ.60) เพิ่มขึ้น 17%, 11% และ 3% ตามลำดับ อีกทั้งสถิติในอดีตยังชี้ให้เห็นว่า ราคาหุ้นหลังแตกพาร์มักปรับตัวลดลงในช่วงสัปดาห์แรกหลังมีผลบังคับเฉลี่ยราว 1%
ที่มา : www.kaohoon.com
ปตท.ยันสงครามซีเรียไม่กระทบราคาน้ำมัน
ปตท.ยันสงครามซีเรีย ไม่กระทบราคาน้ำมันตลาดโลก และการตัดหาน้ำมันของบริษัท ชี้มีคู่ค้ากับประเทศผู้ผลิตทั่วประเทศ สนพ.จับตาราคาทั้งใน-นอกประเทศ หวังสถานการณ์ไม่บานปลาย มั่นใจยังไม่กระทบ
17 เม.ย.61- นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์การสู้รบระหว่างประเทศซีเรียกับกลุ่มประเทศต่างๆอาทิ รัสเซีย อังกฤษ ในขณะนี้ ถ้าไม่ยืดเยื้อก็ไม่น่ามีปัญหากระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก เพราะเป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ ยังไม่ได้ขยายวงกว้างออกไป ทั้งนี้หากสถานการณ์บานปลาย ปตท.ก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดหาน้ำมันมายังประเทศไทย เนื่องจากปตท.ได้มีคู่ค้าและสัญญาซื้อขายน้ำมันกับประเทศผู้ผลิตจากทุกแหล่งทั่วโลก จึงจะไม่มีปัญหาการขนส่งหรือการขาดแคลนน้ำมันในประเทศ
่"ต้องยอมรับว่าราคาน้ำมันตลาดโลกอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะความกังวลของตลาดน้ำมันซึ่งเป็นปกติ ที่หากมีปัจจัยฉุกเฉินใดๆ เกิดขึ้น ราคาก็อาจผันผวนไปตามห้วงเวลานั้นๆ แต่ ปตท.ขอยืนยันว่าหากราคาน้ำมันตลาดโลก ปรับขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ปตท.จะพยายามตรึงราคาขายปลีกให้นานที่สุด เพื่อลดภาระของประชาชน"นายอรรถพล กล่าว
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า สพน.ได้จับตาดูสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดทั้งราคาตลาดโลกและราคาขายปลีกในประเทศ แต่ในขณะนี้ยังเชื่อมั่นว่าความรุนแรงยังไม่บานปลายไปสู่พื้นที่อื่นๆ จึงจะยังไม่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันตลาดโลก เเม้ว่าในสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกดีดตัวขึ้น 4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ก็เป็นเรื่องปกติไม่ใช่เพราะมาจากปัญหาการสู้รบดังกล่าว
อย่างไรก็ตามผู้ค้าน้ำมันทั่วโลกได้แต่หวังว่าความรุนแรงจะไม่บานปลายไปสู่ประเทศอื่นๆ ซึ่งหากไม่บานปลาย ก็จะไม่มีผลต่อราคาน้ำมันโลก เพราะซีเรียไม่ใช่ประเทศผู้ส่ออกน้ำมัน เป็นเพียงผู้ผลิตใช้เองในประเทศ แต่หากสถานการณ์ลุกลามไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่อยู่ใกล้กับประเทศซีเรีย หรือลุกลามไปยังเส้นทางขนส่งน้ำมันของโลก ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกก็อาจผันผวนได้ระดับหนึ่ง
ที่มา : http://www.thaipost.net
ที่มา : http://www.thaipost.net
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)