มติที่ประชุม กพช. เรื่องแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ ในปี พ.ศ. 2565-2666 สรุป ดังนี้
1. รับทราบการพิจารณาของคณะกรรมการปิโตรเลียมที่ได้ประเมินว่าปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในแต่ละหลุม และโอกาสพบปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ของแหล่งเอราวัณ และ บงกช นั้นเข้าตามหลักเกณฑ์ การใช้สัญญาแบ่งปันผลผลิตในการบริหารจัดการหลังจากสัมปทานปัจจุบันสิ้นอายุลง
2. รับทราบในหลักการข้อเสนอของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในการกำหนดเงื่อนไขที่ให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมชำระค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่จะส่งมอบให้รัฐตามสัญญาสัมปทานตามสัดส่วนของทรัพยากรปิโตรเลียมที่ได้ผลิตไปแล้วและที่คงเหลือหลังการส่งมอบ
3. รับทราบในหลักการเงื่อนไขหลักที่จะกำหนดในข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประมูล ดังนี้
- กำหนดพื้นที่สำหรับการประมูลแหล่งเอราวัณตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 1/2515/5 และ เลขที่ 2/2515/6 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทานวันที่ 23 เมษายน 2565 รวมเป็นแปลงสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่จะบริหารภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต 1 สัญญา (แปลง G1/61) และให้เสนอปริมาณการผลิตขั้นต่ำที่ 800 ล้าน ลบ. ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี
- กำหนดพื้นที่สำหรับการประมูลแหล่งบงกชตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 5/2515/9 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทานวันที่ 23 เมษายน 2565 และสัญญาสัมปทาน เลขที่ 3/2515/7 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทานวันที่ 7 มีนาคม 2566 รวมเป็นแปลงสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่จะบริหารภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต 1 สัญญา (แปลง G2/61) และให้เสนอปริมาณการผลิตขั้นต่ำที่ 700 ล้าน ลบ. ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี
- ให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอราคาก๊าซธรรมชาติ โดยอ้างอิงราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในปัจจุบัน ตามสูตรราคาที่จะกำหนดในเอกสารเงื่อนไขการประมูล
- ให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอสัดส่วนการแบ่งกำไรให้แก่รัฐ ซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่า 50%
4. รับทราบในหลักการของแผนการบริหารจัดการการประมูล โดยเริ่มประกาศเชิญชวนในเดือนเมษายน และคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญากับผู้ชนะการประมูลได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ที่มา : www.facebook.com/nongposamm/
13/3/61
9/3/61
สถานการณ์การใช้น้ำมันดิบปี60 นำเข้าเพิ่มขึ้น
สำหรับการนำเข้าส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศของปี 2560 มีปริมาณนำเข้ารวมเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 907 พันบาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 6.2% โดยมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบคิดเป็น 52,157 ล้านบาท/เดือน สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปมีปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 67 พันบาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 13.6% และมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 4,289 ล้านบาท/เดือน โดยพบว่า มีการนำเข้าเบนซินพื้นฐาน และ LPG เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดีเซลพื้นฐาน เตา และอากาศยานลดลง
ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันของปี 2560 (ม.ค.-ธ.ค.) เติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับ ปี 2559 โดยกลุ่มน้ำมันเบนซิน เพิ่มขึ้น 3.7% และดีเซลหมุนเร็ว(บี7) เพิ่มขึ้น 2.7% ในขณะที่ LPG เพิ่มขึ้น 3.4% และ NGV ลดลง 12.1%
การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเฉลี่ย อยู่ที่ 30.1 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 3.7% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำมันกลุ่มเบนซินเกือบทุกชนิดยกเว้นน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 โดยน้ำมันเบนซินมีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 8.2% และแก๊สโซฮอล์ 91 มีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 10.6 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 4.4% สำหรับภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 28.8 ล้านลิตร/วัน คิดเป็น 4.2%
โดยแก๊สโซฮอล์อี 85 มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 18.0% เนื่องจากปัจจุบันมีรถยนต์ผลิตใหม่ที่รองรับแก๊สโซฮอล์ อี 85 เข้าสู่ท้องตลาดมากขึ้น รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 มีปริมาณการใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยอยู่ที่ 11.9 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 10.0% เนื่องมาจากราคาขายปลีกที่ปรับตัวใกล้เคียงกันกับแก๊สโซฮอล์ 91 ทำให้ประชาชนเลือกใช้น้ำมันชนิดที่มีค่าออกเทนสูงกว่า ในขณะเดียวกันแก๊สโซฮอล์อี 20 มีการใช้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 8.8%
การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี7) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 62.2 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 2.7% ถึงแม้ว่าราคาขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2559 แต่ปริมาณการใช้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิงมีปริมาณเพิ่มขึ้น 4.5% (อ้างอิงข้อมูลกรมการขนส่งทางบก) ซึ่งเดือน มี.ค. 2560 เป็นเดือนที่มีการใช้สูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 67.2 ล้านลิตร/วัน มีปัจจัยหลักมาจากการขนส่งและการเร่งทำงานให้แล้วเสร็จ ก่อนเตรียมตัวหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ และในเดือน ต.ค. 60 มียอดการใช้ต่ำสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 56.9 ล้านลิตร/วัน โดยมีปัจจัยหลักมาจากช่วงฤดูฝนและเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง ส.ค. -พ.ย. ส่งผลให้การขนส่งสินค้าในประเทศชะลอตัว
การใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันของปี 2560 อยู่ที่ 17.0 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 3.4% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ทุกภาคยกเว้นภาคขนส่ง ที่มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 3.6 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 10.0% สำหรับการใช้ในภาคอื่นๆ มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้น โดยภาคปิโตรเคมีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นสูงที่สุดอยู่ที่ 5.7 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 14.7% รองลงมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 6.6% และภาคครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.9 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 2.1%
การใช้ NGV ของปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 6.8 ล้าน กก./วัน ลดลงจากปีก่อน คิดเป็น 12.1% โดยการใช้ NGV ลดลงเป็นผลต่อเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปี 2559 ทำให้ประชาชนและรถบรรทุกสินค้าหันไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยมา และส่งผลให้มีสถานีบริการ NGV ทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรถยนต์จดทะเบียนใหม่ประเภทเชื้อเพลิง NGV จำนวนลดลงคิดเป็น 4.7% (อ้างอิงข้อมูลกรมการขนส่งทางบก)
สำหรับการนำเข้า LPG มีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 54 ล้าน กก./เดือน คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.1 เนื่องจากช่วงเดือน พ.ค. -ก.ค. 2560 มีโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซที่หยุดซ่อมบำรุงจึงกระทบต่อการผลิต LPG สำหรับการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เฉลี่ยอยู่ที่ 200 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 13.6 โดยพบว่ามีการส่งออก เบนซิน ดีเซลพื้นฐาน น้ำมันอากาศยาน น้ำมันเตา และ LPG ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่าในปี 2560 มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในประเทศ (จำนวน 6 โรงกลั่น) รวมจำนวนวันทั้งหมด 232 วัน และโรงแยกก๊าซ 81 วัน แต่พบว่ามีจำนวนวันสำหรับปิดซ่อมบำรุงน้อยกว่าในปี 2559 ที่มีจำนวนวันปิดซ่อมบำรุงรวม 321 วัน จึงส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปประเภท ดีเซลพื้นฐาน เตา และ อากาศยานลดลง ในขณะที่ การนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐานมีปริมาณมากขึ้นเนื่องจาก โรงกลั่นยังคงมีข้อจำกัดในการผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 2 ซึ่งนำไปใช้ในการผสมเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ 95 อี 20 และ อี 85 ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันแก๊สโซฮฮล์ประเภทดังกล่าวปริมาณการใช้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ที่มา : http://www.thansettakij.com/content/261946
การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเฉลี่ย อยู่ที่ 30.1 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 3.7% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำมันกลุ่มเบนซินเกือบทุกชนิดยกเว้นน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 โดยน้ำมันเบนซินมีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 8.2% และแก๊สโซฮอล์ 91 มีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 10.6 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 4.4% สำหรับภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 28.8 ล้านลิตร/วัน คิดเป็น 4.2%
โดยแก๊สโซฮอล์อี 85 มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 18.0% เนื่องจากปัจจุบันมีรถยนต์ผลิตใหม่ที่รองรับแก๊สโซฮอล์ อี 85 เข้าสู่ท้องตลาดมากขึ้น รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 มีปริมาณการใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยอยู่ที่ 11.9 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 10.0% เนื่องมาจากราคาขายปลีกที่ปรับตัวใกล้เคียงกันกับแก๊สโซฮอล์ 91 ทำให้ประชาชนเลือกใช้น้ำมันชนิดที่มีค่าออกเทนสูงกว่า ในขณะเดียวกันแก๊สโซฮอล์อี 20 มีการใช้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 8.8%
การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี7) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 62.2 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 2.7% ถึงแม้ว่าราคาขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2559 แต่ปริมาณการใช้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิงมีปริมาณเพิ่มขึ้น 4.5% (อ้างอิงข้อมูลกรมการขนส่งทางบก) ซึ่งเดือน มี.ค. 2560 เป็นเดือนที่มีการใช้สูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 67.2 ล้านลิตร/วัน มีปัจจัยหลักมาจากการขนส่งและการเร่งทำงานให้แล้วเสร็จ ก่อนเตรียมตัวหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ และในเดือน ต.ค. 60 มียอดการใช้ต่ำสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 56.9 ล้านลิตร/วัน โดยมีปัจจัยหลักมาจากช่วงฤดูฝนและเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง ส.ค. -พ.ย. ส่งผลให้การขนส่งสินค้าในประเทศชะลอตัว
การใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันของปี 2560 อยู่ที่ 17.0 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 3.4% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ทุกภาคยกเว้นภาคขนส่ง ที่มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 3.6 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 10.0% สำหรับการใช้ในภาคอื่นๆ มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้น โดยภาคปิโตรเคมีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นสูงที่สุดอยู่ที่ 5.7 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 14.7% รองลงมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 6.6% และภาคครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.9 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 2.1%
การใช้ NGV ของปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 6.8 ล้าน กก./วัน ลดลงจากปีก่อน คิดเป็น 12.1% โดยการใช้ NGV ลดลงเป็นผลต่อเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปี 2559 ทำให้ประชาชนและรถบรรทุกสินค้าหันไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยมา และส่งผลให้มีสถานีบริการ NGV ทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรถยนต์จดทะเบียนใหม่ประเภทเชื้อเพลิง NGV จำนวนลดลงคิดเป็น 4.7% (อ้างอิงข้อมูลกรมการขนส่งทางบก)
สำหรับการนำเข้า LPG มีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 54 ล้าน กก./เดือน คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.1 เนื่องจากช่วงเดือน พ.ค. -ก.ค. 2560 มีโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซที่หยุดซ่อมบำรุงจึงกระทบต่อการผลิต LPG สำหรับการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เฉลี่ยอยู่ที่ 200 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 13.6 โดยพบว่ามีการส่งออก เบนซิน ดีเซลพื้นฐาน น้ำมันอากาศยาน น้ำมันเตา และ LPG ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่าในปี 2560 มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในประเทศ (จำนวน 6 โรงกลั่น) รวมจำนวนวันทั้งหมด 232 วัน และโรงแยกก๊าซ 81 วัน แต่พบว่ามีจำนวนวันสำหรับปิดซ่อมบำรุงน้อยกว่าในปี 2559 ที่มีจำนวนวันปิดซ่อมบำรุงรวม 321 วัน จึงส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปประเภท ดีเซลพื้นฐาน เตา และ อากาศยานลดลง ในขณะที่ การนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐานมีปริมาณมากขึ้นเนื่องจาก โรงกลั่นยังคงมีข้อจำกัดในการผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 2 ซึ่งนำไปใช้ในการผสมเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ 95 อี 20 และ อี 85 ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันแก๊สโซฮฮล์ประเภทดังกล่าวปริมาณการใช้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ที่มา : http://www.thansettakij.com/content/261946
8/3/61
สรุปการใช้ก๊าซปี 60 LPG ยอดใช้พุ่ง NGV ลด !!
กรมธุรกิจพลังงานได้รายงานภาพรวมของการใช้ก๊าซปี 2560
การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือ LPG อยู่ที่ 17 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.4 ทุกภาคการใช้เพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคขนส่งที่มีการใช้อยู่ที่ 3.6 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือลดลงร้อยละ 10 ภาคปิโตรเคมีการใช้เพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 5.7 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 รองลงมาภาคอุตสาหกรรม มีการใช้อยู่ที่ 1.8 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ส่วนภาคครัวเรือนอยู่ที่ 5.9 กิโลกรัม/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
ส่วนก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) การใช้อยู่ที่ 6.8 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.1 การใช้ที่ลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงตั้งแต่ปี 2559 ส่งผลให้สถานีบริการ NGV ทยอยปิดตัวลง ด้านรถยนต์จดทะเบียนประเภท NGV ลดลงร้อยละ 4.7
ที่มา : www.prachachat.net คอลัมน์ DATA
การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือ LPG อยู่ที่ 17 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.4 ทุกภาคการใช้เพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคขนส่งที่มีการใช้อยู่ที่ 3.6 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือลดลงร้อยละ 10 ภาคปิโตรเคมีการใช้เพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 5.7 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 รองลงมาภาคอุตสาหกรรม มีการใช้อยู่ที่ 1.8 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ส่วนภาคครัวเรือนอยู่ที่ 5.9 กิโลกรัม/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
ส่วนก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) การใช้อยู่ที่ 6.8 ล้านกิโลกรัม/วัน หรือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.1 การใช้ที่ลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงตั้งแต่ปี 2559 ส่งผลให้สถานีบริการ NGV ทยอยปิดตัวลง ด้านรถยนต์จดทะเบียนประเภท NGV ลดลงร้อยละ 4.7
ที่มา : www.prachachat.net คอลัมน์ DATA
1/3/61
ภาพรวมของการใช้น้ำมันในปี 2560 ยอดใช้เพิ่ม
สรุปการใช้น้ำมัน ปี 60 กลุ่มเบนซินพุ่ง 3.7%
กรมธุรกิจพลังงานได้รายงานภาพรวมของการใช้น้ำมันในปี 2560 ที่ปรับเพิ่มขึ้น มีเพียงการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) เท่านั้นที่ปรับลดลง เฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซินมีการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 30.1 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.7 และเพิ่มขึ้นทุกชนิดน้ำมัน “ยกเว้น” เบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 โดยน้ำมันเบนซินลดลงเฉลี่ยที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน หรือลดลงร้อยละ 8.2 ส่วนแก๊สโซฮอล์ 91 การใช้ลดลงเฉลี่ย 10.6 ล้านลิตร/วัน หรือร้อยละ 4.4
ด้านภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 28.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.2 แก๊สโซฮอล์ E85 การใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
18 เนื่องจากมีรถยนต์ผลิตใหม่ที่รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ออกสู่ตลาดมากขึ้น รองลงมาคือ แก๊สโซฮอล์ 95 การใช้อยู่ที่ 11.9 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เนื่องจากราคาขายปลีกที่ปรับราคาใกล้เคียงกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ทำให้ผู้ใช้เลือกใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงกว่า ขณะที่แก๊สโซฮอล์ E20 การใช้เพิ่มขึ้น 5.2 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
ส่วนการใช้น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 62.2 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 แม้ว่าราคาขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2559 ก็ตาม แต่การใช้ยังคงเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 โดยตามข้อมูลกรมการขนส่งทางบกระบุว่า ในเดือนมีนาคม 2560 เป็นช่วงที่มีการใช้สูงสุดที่ 67.2 ล้านลิตร/วัน ซึ่งช่วงดังกล่าวราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ และในเดือนตุลาคมมีการใช้น้ำมันต่ำสุดที่ 56.9 ล้านลิตร/วัน ปัจจัยหลักคือ ช่วงฤดูฝนและมีเหตุการณ์อุทกภัยในภาคอีสานและภาคใต้ช่วงสิงหาคม-พฤศจิกายน ทำให้การขนส่งชะลอตัว
ที่มา : www.prachachat.net คอลัมน์ DATA
กรมธุรกิจพลังงานได้รายงานภาพรวมของการใช้น้ำมันในปี 2560 ที่ปรับเพิ่มขึ้น มีเพียงการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) เท่านั้นที่ปรับลดลง เฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซินมีการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 30.1 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.7 และเพิ่มขึ้นทุกชนิดน้ำมัน “ยกเว้น” เบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 โดยน้ำมันเบนซินลดลงเฉลี่ยที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน หรือลดลงร้อยละ 8.2 ส่วนแก๊สโซฮอล์ 91 การใช้ลดลงเฉลี่ย 10.6 ล้านลิตร/วัน หรือร้อยละ 4.4
ด้านภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 28.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.2 แก๊สโซฮอล์ E85 การใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
18 เนื่องจากมีรถยนต์ผลิตใหม่ที่รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ออกสู่ตลาดมากขึ้น รองลงมาคือ แก๊สโซฮอล์ 95 การใช้อยู่ที่ 11.9 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เนื่องจากราคาขายปลีกที่ปรับราคาใกล้เคียงกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ทำให้ผู้ใช้เลือกใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงกว่า ขณะที่แก๊สโซฮอล์ E20 การใช้เพิ่มขึ้น 5.2 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
ส่วนการใช้น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 62.2 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 แม้ว่าราคาขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2559 ก็ตาม แต่การใช้ยังคงเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 โดยตามข้อมูลกรมการขนส่งทางบกระบุว่า ในเดือนมีนาคม 2560 เป็นช่วงที่มีการใช้สูงสุดที่ 67.2 ล้านลิตร/วัน ซึ่งช่วงดังกล่าวราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ และในเดือนตุลาคมมีการใช้น้ำมันต่ำสุดที่ 56.9 ล้านลิตร/วัน ปัจจัยหลักคือ ช่วงฤดูฝนและมีเหตุการณ์อุทกภัยในภาคอีสานและภาคใต้ช่วงสิงหาคม-พฤศจิกายน ทำให้การขนส่งชะลอตัว
ที่มา : www.prachachat.net คอลัมน์ DATA
ป้ายกำกับ:
การใช้น้ำมัน,
แก๊สโซฮอล์,
น้ำมันดีเซล,
น้ำมันเบนซิน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)